บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2024

โพธิปักขิยธรรม ๓๗

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ธรรมที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส) หลักธรรมสาคัญที่เกื้อหนุนต่อการบรรลุธรรม ซึ่งเป็น หลักธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่าการปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรมเพื่อเป็นแนวทางบรรลุพระนิพพาน  ดังพระดำรัสว่า “ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์แพศย์ ศูทร และสมณะ ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้แน่นอน”   จำแนกเป็น ๗ หมวด คือ สติปัฏฐาน ๔ : การตั้งสติกำหนดพิจารณา สัมมัปปธาน ๔ : ความเพียร อิทธิบาท ๔ : คุณธรรม ที่นำไปสู่ความสำเร็จ อินทรีย์ ๕ : ธรรมะที่เป็นใหญ่ พละ ๕ : ธรรมะที่เป็นกำลัง อริยมรรคมีองค์ ๘ : ทางอันประเสริฐมีองค์แปด เมื่อบุคคลปฏิบัติธรรมะหมวดใดหมวดหนึ่งก็เป็น อันเจริญครบทุกหมวด เพราะโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดนั้น เนื่องอยู่กับมรรคมีองค์ ๘  ดังมีพระพุทธดำรัสรับรองว่า "เมื่อบุคคลเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ ทั้งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ธรรมทั้ง ๒ นี้ คือสมถะและวิปัสสนาของเขาย่อมเคียงคู่กันไป" ท่านพระพุทธ...

โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการรู้แจ้งอริยสัจทั้ง ๔ มี ๗ ประการ (๑) สติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้มีสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน หรือวาจาที่กล่าวไว้นานได้ เป็นการรับรู้สภาวธรรมในปัจจุบันขณะ โดยปราศจากตัวตน เรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี ไม่มีสมมุติบัญญัติที่ขึ้นอยู่กับบุคคล กาลเวลา หรือสถานที่ มีเพียงสภาวธรรมทางกายและสภาวธรรมทางจิตเกิดตามเหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปตามธรรมชาติ (๒) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้นด้วยปัญญา (๓) วิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้มีความเพียร ไม่ย่อท้อ วิจัย เลือกสรรทบทวน สอบสวนธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรแล้ว ความเพียรดังกล่าวนี้ เป็นความเพียรอย่างแรงกล้าที่จดจ่อสภาวธรรมปัจจุบันด้วยสัมมัปปธาน ๔ (๔) ปีติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้ปรารภความเพียร แล้วเกิดปีติที่ปราศจากอามิส เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นบาทฐานแก่ปัสสัทธิ  ปีติมี ๕ ประการ คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย ความรู้สึกอิ่มใจโดยอาจมีอาการขนลุกทั่วร่า...

อินทรีย์ ๕

  อินทรีย์ ๕ คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน โดยเป็นเจ้าการในการทาหน้าที่และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตตธรรมในการครอบงำและกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มี ๕ ประการ  (๑) สัทธินทรีย์ ศรัทธาเป็นใหญ่ในความเชื่อมั่นเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัย กรรมและผลของกรรม โดยไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติธรรม (๒) วิริยินทรีย์ วิริยะเป็นใหญ่ในความเพียรที่ไม่ย่อท้อ ไม่ให้เกิดความเกียจคร้านในการปฏิบัติธรรม (๓) สตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในการทำจิตให้รู้เท่าทันสภาวธรรมปัจจุบันได้อย่างชัดเจนในการปฏิบัติธรรม (๔) สมาธินทรีย์ สมาธิเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสภาวธรรมปัจจุบัน ไม่ซัดส่ายฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่นจากอารมณ์ที่กำหนดอยู่ในการปฏิบัติธรรม (๕) ปัญญินทรีย์ ปัญญาเป็นใหญ่ในการหยั่งรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง โดยไม่หลงงมงายไปในสภาวธรรมเหล่านั้นในการปฏิบัติธรรม

พละ ๕

  พละ ๕ คือ ธรรมอันเป็นกำลังในการกำจัดกิเลส ทำให้บรรลุถึงการตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ ได้แก่ (๑) สัทธาพละ ความเชื่อมั่นเลื่อมใสที่มีกำลัง (๒) วิริยพละ ความเพียรที่มีกำลัง (๓) สติพละ ความระลึกรู้ที่มีกำลัง (๔) สมาธิพละ สมาธิที่มีกำลัง (๕) ปัญญาพละ ความหยั่งรู้ที่มีกำลัง

สัมมัปปธาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรชอบ มีความหมายเหมือนสัมมาวายามะในอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเพียรเผากิเลสมี ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) สังวรปธาน สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น (๒)ปหานปธาน สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓)ภาวนาปธาน สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (๔)อนุรักขนาปธาน สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

อริยมรรค ๘

อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐที่นำไปสู่ความหลุดพ้นคือ การบรรลุมรรคผลนิพพาน  อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความรู้ชอบ คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒) สัมมาสังกัปปะ แปลว่า ความดำริชอบ คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียน (๓) สัมมาวาจา แปลว่า เจรจาชอบ คือ การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคาหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ (๔) สัมมากัมมันตะ แปลว่า การกระทำชอบหรือการงานชอบ คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (๕) สัมมาอาชีวะ แปลว่า เลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นจากการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดจากทำนองคลองธรรม ทำให้คนอื่นต้อง เดือดร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ หาเลี้ยงชีวิตโดยความขยันหมั่นเพียร ไม่เบียดเบียน ผู้อื่นให้เดือดร้อน (๖) สัมมาวายามะ แปลว่า เพียรชอบหรือพยายามชอบ คือ มี ฉันทะ ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้เพื่อมิให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุ...

อิทธิบาท ๔

อิทธิบาท ๔ คือ ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ   (๑) ฉันทะ ความพอใจในธรรม (๒) วิริยะ ความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรม (๓) จิตตะ ความตั้งใจฝักใฝ่ในธรรม (๔) วิมังสา ความใคร่ครวญในธรรม ความสำเร็จในทางธรรมนั้น แตกต่างจากความสำเร็จในทางโลก สามารถจำแนกเป็น ๕ อย่างดังนี้ คือ (๑) อภิญญาอิทธิ ความสำเร็จแห่งการรู้ยิ่ง (๒) ปริญญาอิทธิ ความสำเร็จแห่งการกำหนดรู้ทุกขสัจ (๓) ปหานอิทธิ ความสำเร็จแห่งการละสมุทัย (๔) สัจฉิกิริยาอิทธิ ความสำเร็จแห่งการกระทำให้แจ้งนิโรธสัจ (๕) ภาวนาอิทธิ ความสำเร็จแห่งการอบรมมรรค

สติปัฏฐาน ๔ (โดยย่อ)

  สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การตั้งสติสัมปชัญญะ เพียรพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้ได้ในมหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ"  ในการปฏิบัติแยกพิจารณาเป็น ๔ ประการ คือ (๑) การพิจารณากายในกาย แบ่งออกเป็น ๖ หมวด คือ พิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก (อานาปานสติ) พิจารณาอิริยาบถ ,พิจารณาสัมปชัญญะ ,พิจารณาสิ่งปฏิกูล ,พิจารณาธาตุ ,พิจารณาซากศพ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (๒) การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย คือ พิจารณาความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ (อุเบกขา) ในตัวเอง ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (๓) การพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ พิจารณาจิตของตนให้เห็นสภาวะตามที่ปรากฏในขณะนั้น ๆ และรู้ชัดตามความเป็นจริง ตามสภาวะของจิต เช่น จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ เป็นต้น ต...

หลักอานาปานสติภาวนา(โดยย่อ)

รูปภาพ
  หลักอานาปานสติภาวนา(โดยย่อ) ของท่านพระพุทธทาส ภิกขุ กายา ๑.รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับลมหายใจยาว ๒.รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับลมหายใจสั้น ๓.รู้ความที่ลมหายใจปรุงแต่งกาย ๔.ระงับลมหายใจที่ปรุงแต่งกาย จนมีความเป็นสมาธิที่มีปีติและสุขปรากฏชัด เวทนา ๑รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับปีติ ๒.รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับสุข ๓.รู้ความที่ปีติ-สุข ปรุงแต่งจิต ๔.ระงับปีติ-สุข ที่ปรุงแต่งจิต ควบคุมเวทนา ที่ปรุงแต่งจิตได้ในที่สุด จิตตา ๑.รู้ลักษณะจิตทุกชนิดตามจริง ๒.บังคับจิตให้ปราโมทย์(ตามต้งอการ) ๓.บังคับจิตให้ตั้งมั่น(ตามต้งอการ) ๔.บังคับจิตให้สลัดสิ่งที่ควรสลัด(ได้ตามต้องการ) นี่เรียกว่ามีอำนาจเหนือจิตแล้วจะได้ใช้จิตให้ทำงานต่อไป ธัมมา ๑.ใช้จิตตามพิจารณาอนิจจตาของทถกสิ่ง ๒.ใช้จิตตามพิจารณาวิราคะที่เกิดขึ้น ๓.ใช้จิตตามพิจารณานิโรธที่เกิดขึ้น ๔.ใช้จิตตามพิจารณาอาการสลัดคืนสิ่งที่เคยยึดมั่นถือมั่น  จบเรื่องด้วยการมีจิตสะอาด สว่าง สงบ ถึงที่สุด

การถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์

รูปภาพ
  การทำบุญทำกุศลตามหลักพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องเหมาะสมแก่กาละเทศะนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ในเรื่องกาลิกทั้ง ๔ อย่าง ได้แก่ ยาวะกาลิก ยามะกาลิก สัตตาหะกาลิก และยาวะชีวิก ดังนี้ ๑.ยาวะกาลิก หมายถึง อาหารทุกชนิดที่พระภิกษุสามารถฉันได้ เช่น ข้าว ข้าวต้ม ขนม ผลไม้ ถั่ว เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องปรุง น้ำผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น เมื่อพระภิกษุรับประเคนแล้ว พระภิกษุท่านสามารถฉันได้เฉพาะตอนเช้าไปจนถึงเที่ยงวันเท่านั้น เช้าในที่นี้คือ เวลาตั้งแต่อรุณสว่างขึ้นมาจนเห็นลายมือชัดเจน และสามารถเห็นใบไม้อ่อน ใบไม้แก่ได้ในระยะ ๓ เมตร ไม่ว่าจะฉันมื้อเดียว หรือ สองมื้อ ถ้าไม่เกินเที่ยงวันก็ไม่ผิดพระธรรมวินัย ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนก็ตามก็ให้เอาเวลาตามประเทศนั้นๆ ๒.ยามะกาลิก หมายถึง น้ำปานะ หรือ เรียกว่า น้ำอัฏฐะบาน ผลไม้ต่างๆที่จะนำมาทำน้ำปานะนั้นจะต้องเป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก คือ ไม่ใหญ่เกินผลส้มเขียวหวานและให้มีเมล็ด เช่น ลูกหว้า องุ่น ลำไย ส้มเขียวหวาน มะนาว ฯลฯ เป็นต้น ผลไม้ต่างๆที่นำมา เมื่อจะทำเป็นน้ำปานะจะต้องคั้นและผสมน้ำ แล้วใช้ผ้ากรองอย่างน้อย ๗ ชั้น เพื่อกรองเอาเนื้อผลไม้ออกจนหมด ให้เหลือแต่น้ำ จะผ...

อาทิตตปริยายสูตร

รูปภาพ
      พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ว่าดังนี้.-       ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยาพร้อวด้วยพระภิกษุพวกที่เคยเป็นชฎิลประมาณ 1,000 รูป ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนสติภิกษุเหล่านั้น ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงในโลกนี้ เป็นเฟตุให้ใจเร่าร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ชื่อว่าเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน    ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน   รูป  เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน           ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปืั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตาได้เห็นรูป ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน   เร่าร้อนเพราะอะไร ? เร่าร้อนเพราะใจคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ ก็มีความยินดีที่อยากจะให้ตาได้เห...

อนันตลักขณสูตร

รูปภาพ
เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี   ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร              [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.          เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็...

บอกกล่าว

รูปภาพ
ชีวิตมนุษย์นั้นมันสั้นนัก ไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตจะอยู่ที่ตรงไหน ผู้คนมากมายในโลกปัจจุบันนั้นมัวแต่วุ่นวายกับการเสพวัตถุ มีความพึงพอใจหลงติดกับกามฉันทะเป็นส่วนมาก สะสมพอกพูนราคะ โทสะ และโมหะ โดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งใด ปล่อยวันเวลาล่วงไปๆ โดยไม่ได้สนใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ ละเลยตนเอง แม้จะส่องกระจกแต่งหน้าทาปากอยู่ทุกวัน กลับมองไม่เห็นตนเองแม้แต่น้อย เสมือนคนตาบอดที่เมื่อชีวิตสิ้นสุดปลายทางที่ความตาย ก็ไม่อาจจะรู้ที่ ที่ตนจะไปได้ กำหนดไม่ได้ว่าจะไปทิศทางใด  แต่แน่นอนว่าโลกนี้ยังมีบัณฑิตหลงเหลืออยู่ พวกเขาไม่ปล่อยวันคืนให้ผ่านล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ พวกเขามองเห็นว่าสุดท้ายปลายทางของชีวิตไม่อาจหลีกพ้นพญามัจจุราชคือความตายไปได้ ดังนั้นพวกเขาเหล่านี้ จึงพากันขวนขวายแสวงหาสิ่งที่พวกเขาควรจะศึกษาและปฏิบัติ แสวงหาหนทาง เส้นทางที่จะนำพาเขาไปยังจุดหมายที่เขาจะไปได้ ไม่ให้ตกไปสู่อบายภูมิ ค้นพบทางหลุดพ้นออกจากวัฏสังสารนี้ ซึ่งนั่นก็คือ พระธรรม อันเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนแก่สาวกไว้ดีแล้ว อันมีพระสงฆ์เป็นผู้เผยแพร่ จนมาถึงปัจจุบันนี้ เราเองก็จัดเป็นนักศึกษาและปฏิบ...

ศีล ๕

รูปภาพ
    ศีล ๕ หรือเบญจศีล เป็นการประพฤติชอบทางกายและวาจา ๕ ประการ ประกอบด้วย ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี คือ มีเจตนางดเว้นจากการไม่ทำลายชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย มีความประพฤติหรือมีการดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นและสรรพสัตว์ทางด้านชีวิตร่างกาย ไม่ฆ่าทำลายชีวิต หรือว่าจ้างผู้อื่นกระทำ ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทานา เวรมณี คือ มีเจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้เรา ไม่ลักขโมย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทางด้านทรัพย์สิน กรรมสิทธ์ต่าง ๆ ที่คนอื่นครอบครอง ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี คือ มีเจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกามารมณ์ ไม่ล่วงละเมิด ข่มขืน ขืนใจผู้อื่นที่ไม่ยินยอมรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ยินยอมเช่นกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทางด้านคู่ครอง ไม่ผิดประเพณี ไม่นอกใจคู่ครอง ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี คือ มีความตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง ยุแยง ส่อเสียดในทางเสียหาย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวาจาที่ไม่เป็นจริง ไม่เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี คือ มีเจตนางดเว้นจากการเสพสิ่งของมึนเมา คือ สุรา ยาเสพติด อันเป็นที...

ชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

รูปภาพ
    ท่านพระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ได้มารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูกิจการทั้งภายในและภายนอกจนเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาตามลำดับ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร “พระครูภาวนาวิสุทธิ์” ในคราววันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ชีวประวัติและผลงานของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแด่สาธุชนทั่วไป ชาติภูมิ พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๑๐ (๔ ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ. เมือง จ. สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน ซึ่งเกิดจากโยม   ท่านพระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ได้มารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูกิจการทั้งภายในและภายนอกจนเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาตามลำดับ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร “พระครูภาวนาวิสุทธิ์” ในคราววันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ชีวประวัติและผลงานของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแด่สาธุชนทั่วไป ชาต...

ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

รูปภาพ
  หลวงปู่ดูลย์ อตุโล นับเป็นศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายอาริยะวาสีในยุคปัจจุบัน พระเถระที่เป็นสหมิตรและมีอายุรุ่นเดียวกันกับหลวงปู่ดูลย์ ได้แก่ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา และหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล จังหวัดอุดรธานี ด้วยความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงปู่ดูลย์ ท่านจึงมีศิษย์สำคัญๆ หลายองค์ ศิษย์รุ่นแรกๆ ก็มี “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร “หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ” วัดป่านิโกรธาราม จังหวัดอุดรธานี “หลวงปู่สาม อกิญจโน” วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์ และพระเทพสุธาจารย์ (หลวงปู่ชาติ คุณสมฺปนฺโน) วัดชิราลงกรณ์ อำเภอปากช่อง นครราชสีมา สำหรับศิษย์อาวุโสของหลวงปู่ดุลย์ ได้แก่ พระวิสุทธิธรรมรังสี (หลวงพ่อเปลี่ยน โอรโส) วัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ หลวงพ่อสุวรรณ สุดใจ วัดถ้ำศรีแก้ว จังหวัดสกลนคร เป็นต้น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระอริยะเจ้าที่มีคุณธรรมล้ำลึก ท่านเน้นการปฏิบัติภาวนามากกว่าการเทศนาสั่งสอน สำหรับพระสงฆ์และญาติโยมที่เข้าไปกราบนมัสการและขอฟังธรรม หลวงปู่มักจะให้ธรรมะสั้นๆ แต่มีความล้ำลึกสูงชั้นเสมอ ท่...

แนวทางปฏิบัติธรรมของหลวงปูดุลย์ อตุโล

รูปภาพ
หลวงปู่ท่านเน้นให้ศึกษาที่จิต อริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง ศีลคือความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะใดๆครอบงำ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต และปัญญาความรอบรู้ของจิตพระธรรมทั้งปวงสามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง วิธีการดูจิต การเตรียมความพร้อมของจิต จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้นจะต้องมีความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนไม่สามารถเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงได้ ท่านสอนให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" ควบด้วยการทำอานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าบริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ" เคล็ดลับในการทำความสงบ ในเวลาทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา ให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจให้จิตสงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้น จะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับยิ่งจะฟุ้งซ่าน เมื่อจิตสงบแล้วจิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีก แต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง การแยกจิตผู้รู้กับ...

กาลามสูตร

รูปภาพ
  ๑.มา อนุสฺสเวน  อย่าเชื่อเพราะสักว่าฟังตามๆกันมา ๒.มา ปรมฺปรายา  อย่าเชื่อเพราะสักว่าทำตามๆกันมา ๓.มา อิติกิราย  อย่าเชื่อเพราะสักว่าเขากำลังเล่าลือกันอยู่กระฉ่อน ๔.มา ปฏิสมฺปทาเนน  อย่าเชื่อเพราะว่าข้อความนี้มีอ้างอยู่ในพระไตรปฎก ๕.มา ตกฺกเหตุ   อย่าเชื่อเพราะเหตุว่ามันถูกต้องตามเหตุผลของการคิดอย่างตรรกะ (Logic) ๖.มา นยเหตุ  อย่าเชื่อเพราะเหตุว่ามันถูกต้องตามเหตุผลของการคิดทางนัยยะ (Philosophy) ๗.มา อาการปริวิตกฺเกน  อย่าเชื่อด้วยเหตุผลของการตรึกตามอาการ (Commonsense) ๘.มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา  อย่าเชื่อเพราะข้อนี้มันทรได้ต่อการเพ่งของเรา ๙.มา ภพฺพรูปตาย  อย่าเชื่อเพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อ ๑๐.มา สมโณ โน ครูติ    อย่าเชื่อเพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา    ให้เชื่อต่อเมื่อมองเห็นด้วยตนเอง รู้สึกด้วยตนเอง ว่าเป็นอย่างนั้นจริง คือให้เอาความรู้สึกในใจของตัวเองที่ได้ผ่านมาแล้วจริงเป็นหลัก ความเชื่อในพระพุทธศาสนาจะต้องตั้งรากฐานอยู่บนสิ่งที่ได้ผ่านมาแล้วจริงๆ

สติปัฏฐานสูตร

  สติปัฏฐานสูตรว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน [๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธรรม ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ – พิจารณาเห็น กายในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ – พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ – พิจารณาเห็น จิตในจิต อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ – พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑. กายานุปัสสนาสติปั...